ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ในการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต
19 มี.ค. 2568 92วันที่ 14 และ 19 มีนาคม 2568 ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต เขตสุขภาพที่ 10 ปีงบประมาณ 2568 พื้นที่อำเภอเมืองยโสธร จำนวน 2 รุ่น ณ ห้องประชุมบั้งไฟโก้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร โดยมี นายแพทย์วิทยา วัฒนเรืองโกวิท นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร กล่าวต้อนรับและเปิดโครงการฯ ในการนี้ นางพิศมัย รัตนเดช หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด และนางสาววรรณปวีณ์ ไวยพจน์ ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร เครือข่ายสุขภาพจิตในพื้นที่ ร่วมกิจกรรมในโครงการฯ ด้วย
การดำเนินโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ให้ความรู้ เรื่อง ความสำคัญของสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ วิธีการส่งเสริมสุขภาพจิตและแนวทางป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ บทบาทของผู้ดูแลในการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ การดูแลทางสังคมจิตใจ ในผู้สูงอายุ ด้วยแนวทาง 4 ส : ส. สังเกต ส. ใส่ใจ ส. ส่งต่อ เชื่อมโยง และ ส.เสริมสร้างดูแลใจ การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต โรคทางจิตเวช สารเสพติด สำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ การสังเกตสัญญาณเตือนความเครียด ซึ่มเศร้า ความเสี่ยงฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ การเสริมสร้างความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ รวมถึงมีการฝึกทักษะการค้นหา คัดกรองและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ด้วยแบบประเมินภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตาย 2 คำถาม (2Q Plus) การใช้โปรแกรมประเมินสุขภาพจิตออนไลน์ MENTAL HEALTH CHECK IN วิทยากร โดย นางสาวณัฐรดา สุวรรณกูฏ นางสาวปิยะนุช สุวรรณกูฏ นางสาวปุณณา สังข์สุวรรณและนางสาวธัญญาภรณ์ คำแก้ว นอกจากนี้ได้มีการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุ การเชื่อมโยงองค์ความรู้การดูแลสุขภาพทางกาย การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มผู้สูงอายุ จาก ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี วิทยากร โดย นางวรรณภา อินต๊ะราชา นางสาวเดือนธิดา ศรีเสมอ และ นางสาววรุณสิริ ทางทอง นำไปสู่การมีความรู้และทักษะการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ ครอบคลุมในมิติทางกาย จิตใจและสังคม ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ อสม. และบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ รวมทั้ง 2 รุ่น จำนวนทั้งสิ้น 80 คน












































